เมนู

แก่การประพันธ์คาถา ท่านจึงนิเทศนิคหิต เป็น น. ปาฐะว่า สีตวารี
สุจินฺธรา
ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า ทรงไว้ซึ่งน้ำเย็นใสสะอาด (และ) มีแอ่งน้ำเย็น
สนิท ใสสะอาด. บทว่า อินฺทโคปกสญฺฉนฺนา ความว่า ดารดาษไปด้วย
กิมิชาติสีแดง มีวรรณะดังแก้วประพาฬ อันได้นามว่า แมลงค่อมทอง ท่าน
กล่าวอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งเวลาที่มีฝนตก. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ได้แก่ ติณชาติ ที่มีสีแดง นามว่า อินทโคปกะ. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า
ได้แก่ ต้นกรรณิการ์. บทว่า เสลา ได้แก่ ภูเขาล้วนด้วยหิน อธิบายว่า ภูเขา
ที่ไม่มีฝุ่น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนด้วยหิน.
บทว่า รมยนฺติ มํ ความว่า ยังเราให้ยินดี คือเพิ่มพูนความยินดีในวิเวก
แก่เรา. พระเถระเมื่อจะประกาศถึงความยินดีในป่า ที่อบรมมาเป็นเวลานาน
ของตนอย่างนี้ จึงแสดงถึงความยินดีในวิเวก 3 อย่างเท่านั้น. ในบรรดาวิเวก
3 อย่างนั้น ด้วยอุปธิวิเวก เป็นอันพระเถระแสดงการพยากรณ์พระอรหัตผล
แล้วทีเดียว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาวัจฉเถรคาถา

4. วนวัจฉสามเณรคาถา
ว่าด้วยคาถาของสามเณรของพระวนวัจฉเถระ


[ 151 ] ได้ยินว่า สามเณรของพระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
พระอุปัชฌาย์ของเราได้กล่าวกะเราว่า ดูก่อนสิว-
กะ เราจะไปจากที่นี้ กายของเราอยู่ในบ้าน แต่ใจ
ของเราอยู่ในป่า แม้เรานอนอยู่ก็จักไป ความเกี่ยว
ข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แจ้งชัด ดังนี้.